เบื่อพื้นเก่า อยากปูพื้นใหม่ ต้องทำอย่างไงได้บ้าง?

                    หลายคนมักจะพบปัญหาพื้นเดิมหลังปูไปนานแล้วมักจะมีการสึกกร่อนหลังจากที่ใช้มานาน มีสีคล้ำไม่สวยสดใส ลวดลายไม่ทันสมัยตกรุ่นไปไกล หรือประสบปัญหาที่อาจจะเกิดจากการทรุดตัวของพื้น กระเบื้องร่อน ยาแนวหลุดล่อน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การรั่วซึมของน้ำ คราบสกปรกฝั่งแน่น เชื้อรา การโก่ง ระเบิด จากการหดตัว หรือการชนกันของกระเบื้อง ที่เป็นปัญหาหลักของพื้นเก่าเลยก็ว่าได้ นอกจากการปูพื้นกระเบื้องใหม่จะเป็นวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นแล้ว การเลือกวิธีการปูกระเบื้องก็สำคัญเช่นกัน โดยต้องคำนึงถึงลักษณะของโครงสร้างนั้นๆ วิธีการที่มีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรง และป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคตได้ด้วย ซึ่งการซ่อมแซมหรือปูกระเบื้องใหม่จะทำอย่างไรได้าง เรามาดูวิธีการปูกระเบื้องพื้นใหม่ ว่าแต่ละวิธีมีกี่ขั้นตอนบ้าง และในแต่ละวิธีจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้างนั้น Duragres มีคำตอบมาบอกนะ


รื้อกระเบื้องเก่า แล้วปูกระเบื้องใหม่ 

                    การรื้อกระเบื้องเก่าออกก่อนปูกระเบื้องใหม่นั้น มีข้อดีที่สามารถปรับระดับพื้นใหม่ได้ หากพื้นผิวหลังจากการรื้อกระเบื้องแล้วไม่ได้ระดับ โดยสามารถทำการปรับแต่งพื้นผิวให้เหมาะสมต่อพื้นที่นั้นได้ทันที เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังไม่ได้เพิ่มน้ำหนักต่อโครงสร้างไปจากเดิมมาก และระดับความสูงของพื้นไม่เปลี่ยนแปลง จึงไม่ส่งผลต่อช่องระยะจากด้านล่างของประตูอีกด้วย


การรื้อกระเบื้องเก่า จะต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้างมาดูกัน

                    ขั้นแรกเลยเรามาเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการรื้อพื้นกระเบื้องกันก่อน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้

                    - สว่านโรตารี่ 3 ระบบ
                    - เครื่องสกัดคอตกรีต
                    ค้อนหัวยาง
                    ปูนซีเมนต์
                    ทราย
                    ปูนกาวซีเมนต์
                    ยาแนว
                    เกรียงโบกปูน
                    เกรียงหวี สำหรับปาดปูนกาวซีเมนต์
                    หวีปาดยาแนวกระเบื้อง
                    อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้องหรือสเปซเซอร์พลาสติก
                    ฟองน้ำสำหรับทำความสะอาดกระเบื้อง


ขั้นตอนการรื้อกระเบื้องเก่า และปูกระเบื้องใหม่

                    1. นำเครื่องสกัดคอนกรีตและสว่านโรตารี่ 3 ระบบ เจาะรื้อพื้นกระเบื้องเก่าออกในบริเวณที่ต้องการ หากพื้นที่เวณใดที่ยากต่อการทรงตัวเสี่ยงที่จะกระทบต่อผิวของผนังแนะนำให้ใช้เพียงสว่านโรตารี่ 3 ระบบเพียงอย่างเดียว



                    2. เมื่อทำการเอากระเบื้องออกหมดแล้ว ให้เตรียมปูนที่จะใช้ในการปูกระเบื้องมาผสมกับทรายในอัตราหนึ่งต่อสองส่วนผสมให้เข้ากัน

                    3. ใช้เกียงโบกปูนที่ผสมเสร็จแล้วลงไปบริเวณที่ต้องการปูกระเบื้อง หลังจากนั้นให้ใช้เกียงปาดให้ทั่วตามบริเวณที่ต้องการและทำการฉาบปูนให้เรียบ


                    
4. ผสมปูนกาวซีเมนต์กับน้ำในอัตราส่วนตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ จนได้ปูนที่มีเนื้อครีมเหนียวๆ ทิ้งไว้สักพักประมาณ 5 นาที ให้เนื้อปูนทำปฏิกิริยากับน้ำจนเข้าที่

                    5. ใช้เกรียงตักปูนกาวลงไปบนพื้น แล้วเกลี่ยปูนให้เรียบโดยใช้เกรียงหวีปาดร่อง ทำได้ทั้งแบบร่องวงกลมหรือร่องเส้นตรง จากนั้นปาดปูนกาวซีเมนต์ที่แผ่นกระเบื้องเพื่อเพิ่มการยึดติด


                    
6. ค่อยๆ วางกระเบื้องลงไปแต่ละแผ่น โดยให้สังเกตลูกศรบริเวณหลังแผ่นกระเบื้องที่ระบุไว้ เว้นระยะห่างระหว่างแผ่นประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เป็นร่องยาวแนวกระเบื้อง


 
                  
7. ใช้ด้ามเกรียงเคาะบนแผ่นกระเบื้องเบาๆเพื่อให้กระเบื้องนั้นติดแน่นมากยิ่งขึ้น และรอจนกว่าปูนกาวซีนเมนต์จะแห้งสนิทประมาณ12-24 ชั่วโมง



                    
8. เมื่อแห้งสนิทแล้ว ให้ผสมยาแนวในอัตราที่พอเหมาะ พร้อมทั้งฉาบลงไปบริเวณร่องกระเบื้องให้เต็มแล้วทิ้งให้แห้งสนิทถึงจะสามารถทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆได้

                    *ทั้งนี้การเลื้อกระเบื้องเก่า เป็นการทำงานที่หลายขั้นตอน  ส่งผลให้มีค่าใช้จ่าย  เวลาทำงานที่ยาวนาน และค่าแรงงานที่มากขึ้น


ปูกระเบื้องใหม่ทับประเบื้องเก่า

                    การปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า เป็นวิธีที่ช่วยลดขั้นตอน เวลาการทำงาน และค่าแรงได้ดีกว่าการรื้อกระเบื้องเก่า แต่ในการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่านั้นยังมีข้อควรคำนึงที่จะต้องพิจารณาก่อนปูกระเบื้อง โดยข้อที่ควรคำนึงก่อนปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่านั้นมีรายละเอียดดังนี้

                    1. สำรวจโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักได้มากแค่ไหน เนื่องจากกระเบื้องที่ปูใหม่มีน้ำมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบการรับหนักหนักของตัวบ้านหรืออาการด้วยว่าสามารถรับน้ำหนักเพิ่มเติมอีกได้หรือไม่
                    2. เช็คดูให้แน่ใจว่าพื้นกระเบื้องเก่าที่จะปูทับนั้น ต้องมีความเรียบเนียน ทุกแผ่นมีระดับเสมอกัน หากพบว่าของเดิมมีจังหวะการปูที่ไม่เท่ากันแนะนำให้รื้อแล้วปูใหม่จะดีกว่า
                    3. ก่อนปูกระเบื้องใหม่ทับของเก่า อย่าลืมสังเกตระยะห่างของประตูกับพื้นด้วย เพราะเมื่อปูกระเบื้องทับแล้วพื้นจะมีระดับสูงขึ้นประมาณ 2-3 เซนติเมตร หากคำนวณแล้วระยะห่างประตูกับพื้นมีมากพอก็สามารถปูทับได้ แต่ถ้าระยะไม่พอก็อาจจะต้องตัดความยาวของประตูออกตามขนาดที่เหมาะสม
                    4. หากพื้นกระเบื้องเก่ามีการหลุดร่อนแตกหัก ให้สกัดแผ่นที่ชำรุดออกให้เรียบร้อย อย่าปูทับแผ่นที่ชำรุดเป็นอันขาด

อุปกรณ์สำหรับปูกระเบื้อง

                    - ค้อนหัวยาง
                    - เกรียงหวี สำหรับปาดปูนกาวซีเมนต์
                    - ปูนกาวซีเมนต์
                    - หวีปาดยาแนวกระเบื้อง
                    - อุปกรณ์จัดแนวกระเบื้องหรือสเปซเซอร์พลาสติก
                    - ฟองน้ำสำหรับทำความสะอาดกระเบื้อง
                    - ยาแนว ที่มีคุณภาพป้องกันเชื้อรา

ขั้นตอนการปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเก่า

                    1. ทำความสะอาดพื้นผิวกระเบื้องเดิมให้ปราศจากฝุ่น เศษปูน รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ
                    2. ผสมกาวซีเมนต์กับน้ำในอัตราตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ จนได้ปูนที่มีเนื้อครีมเหนียวๆ ทิ้งไว้สักพักประมาณ 5 นาที ให้เนื้อปูนทำปฏิกิริยากับน้ำจนเข้าที่


                    3. จากนั้นใช้เกรียงตักปูนกาวลงไปบนพื้นกระเบื้องเดิมเกลี่ยปูนให้เรียบแล้วใช้เกรียงหวีปาดร่อง ทำได้ทั้งแบบร่องวงกลมหรือร่องเส้นตรง จากนั้นปาดกาวซีเมนต์ที่แผ่นกระเบื้องเพื่อเพิ่มการยึดติด


                    4. ค่อยๆ วางกระเบื้องลงไปแต่ละแผ่น โดยให้สังเกตลูกศรบริเวณหลังแผ่นกระเบื้องที่ระบุไว้สำหรับต่อลาย เว้นระยะห่างระหว่างแผ่นประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เป็นร่องยาวแนวกระเบื้อง
                    5. ใช้ด้ามเกรียงหรือค้อนยางเคาะลงไปบนกระเบื้องเบาๆ เพื่อให้กระเบื้องติดกับปูนได้ดีขึ้น ปล่อยให้ปูนซีเมนต์กาวแห้งเป็นเวลา 12-24 ชั่วโมงจากนั้นเป็นขั้นตอนลงยาแนวกระเบื้องต่อไป


Tips การเลือกใช้ปูนกาวซีเมนต์อย่างไรให้เหมาะสม

                    ปูนกาวซีเมนต์เป็นซีเมนต์ผสมสารยึดเกาะระหว่างพื้นผิวกับกระเบื้อง ซึ่งจะดีกว่าการใช้การยึกเกาะแบบปูนซีเมนต์ที่ผสมทรายในรูปแบบการปูกระเบื้องแบบเดิม ปูนกาวซีเมนต์สามารถปูกระเบื้องได้ทุกพื้นผิว ทั้งผิวมันวาว หรือปูทับกระเบื้องเดิม และสามารถใช้ได้ทั้งเบื้องแผ่นใหญ่ที่มีน้ำหนักมากอย่างแกรนิตโต้ หรือกระเบื้องเล็กที่มีน้ำหนักเบาอย่างโมเสก

การเลือกใช้ปูกาวซีเมนต์แต่ละแบบ

                    ปูนกาวซีเมนต์นั้นมีหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงในการยึดเกาะ ซึ่ง Duragres มีปูกาวซีเมนต์มาให้เลือกใช้ ตามความแข็งแรงที่ต้องเลือกใช้ได้ดังนี้


ปูนกาวซีเมนต์สำเร็จรูป สีเขียวพลัส

                    ปูนกาวผสมสำเร็จพร้อมใช้งาน สำหรับงานปูกระเบื้องทั่วไป ใช้ในการยึดติดกระเบื้องที่มีน้ำหนักไม่มาก


ปูนกาวซีเมนต์สำเร็จรูป สีเขียวพลัส


ปูนกาวซีเมนต์สำเร็จรูป สีแดง

                    ปูนกาวผสมสำเร็จพร้อมใช้งาน สำหรับงานปูกระเบื้องขนาดใหญ่ ใช้สำหรับกระเบื้องขนาดใหญ่ที่ต้องการยึดติดเป็นพิเศษ


ปูนกาวซีเมนต์สำเร็จรูป สีแดง


                    เพียงเท่านี้ก็จะมีพื้นบ้านที่สวยเหมือนได้บ้านใหม่ น่ามอง และไม่ชำรุดเสียหายเหมือนก่อนอีกด้วย โดยแต่ขั้นตอนอาจจะมีการใช้ขั้นตอน เวลา และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้บ้านสวย กลับมาเหมือนใหม่ได้อีกครั้งคล้ายๆกันอีกด้วย 

                    การใช้เครื่องมือในแต่ละขั้นตอน ควรมีความชำนาญในการใช้งานหรือมีผู้ที่ชำนาญการใช้งานให้คำแนะนำอยู่ใกล้ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายระหว่างการทำในแต่ละขั้นตอน และควรสวมถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยกันด้วยนะ


สามารถสั่งซื้อกระเบื้องได้ง่ายๆในหลายช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/umitiles